วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอนไปติดต่อราชการ บนสถานีตำรวจ สภ.เวียงเชียงรุ้ง จว.เชียงราย


การติดต่อราชการสถานีตำรวจ


ก.การแจ้งเหตุ

หรือการแจ้งข่าวอาชญากรรม ประชาชนสามารถให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ด้วยการช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องพบเห็นเหตุร้ายหรือพฤติกรรมมีพิรุธน่าสงสัย เข้าข่ายอาชญากรรมประเภทต่าง ๆ เช่น ลักทรัพย์ ปล้นชิงทรัพย์ ฯลฯ ตลอดจนอุบัติเหตุร้ายแรงที่ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นหลักสำคัญในการคลายทุกข์ร้อนของประชาชน

วิธีการแจ้งข่าวอาชญากรรม สามารถกระทำได้ ดังนี้

พบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือฝ่ายปกครองในท้องที่ที่เกิดเหตุ
แจ้งเหตุทางโทรศัพท์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
โทรศัพท์หมายเลขฉุกเฉินโดยตรงของทางราชการ เช่น เหตุด่วนเหตุร้าย โทรแจ้ง 191
โทรศัพท์แจ้งเหตุในรายการวิทยุต่าง ๆ ที่สามารถประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันท่วงที
แจ้งเหตุทางจดหมายไปยังสถานีตำรวจในท้องที่
ข้อควรทราบในการแจ้งข่าวอาชญากรรมทางโทรศัพท์ เมื่อพบเห็นเหตุร้าย อย่ามัวแต่ตกใจ ควรระงับสติอารมณ์แล้วแจ้งเหตุแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจทันที พยายามจดจำข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ของเหตุการณ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการมากที่สุด คือ

เหตุร้ายนั้นเป็นเหตุอะไร เช่น ฆ่าคนตาย รถชนกัน ปล้นทรัพย์ ฯลฯ
เหตุนั้นเกิดที่ไหน ระบุสถานที่ให้ชัดเจนถูกต้อง
คนร้ายมีลักษณะอย่างไร บอกรูปพรรณสัณฐานของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ถ้าเป็นยานพาหนะ ก็ควรสังเกตว่ายานพาหนะนั้นมีป้ายทะเบียนหรือไม่ ถ้ามีเป็นหมายเลขอะไร เหล่านี้เป็นต้น
การแจ้งข่าวอาชญากรรม สามารถแบ่งเป็น

1. การแจ้งข่าวก่อนเกิดเหตุ ช่วยกันจับตาดูแลสอดส่องพฤติกรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยดังนี้

- ผู้มักมีพฤติกรรมการลักเล็กขโมยน้อย หรือ ลักโค กระบือ

- อันธพาล นักเลง

- ผู้ติดยาเสพย์ติดผิดกฎหมาย เช่น ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน สารระเหย

- มือปืนรับจ้าง

- บุคคลแปลกหน้าที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย

- แหล่งซ่องสุมหรือหลบซ่อนตัวของคนร้าย หรือ รับซื้อของโจร

- แหล่งค้ายาเสพย์ติด

- แหล่งล่อลวงหญิงค้าประเวณี หรือ ทารุณกรรม

- แหล่งกักขัง ใช้แรงงานเด็ก หรือใช้แรงงานคนต่างด้าวผิดกฎหมาย

2. การแจ้งข่าวขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ

- แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที หากได้พบเห็นบุคคลเป็นผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดจดจำลักษณะ ตำหนิรูปพรรณ และยานพาหนะของผู้นั้น

- ให้ข้อเท็จจริงกับเจ้าหน้าที่อย่างละเอียด ไม่บิดเบือน เพื่อผลการดำเนินงานสอบสวนติดตามผลจะได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว

                           - ถ้าเหตุร้ายมีผลต่อสาธารณชน เช่น อัคคีภัย ควรแจ้งตำรวจดับเพลิงหรือกรณีที่พบอุบัติเหตุรถชนกัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่โดยด่วนแล้วช่วยดูแลทรัพย์สินของผู้ประสบเหตุ

ข. การแจ้งความต่าง ๆ

เมื่อประชาชนประสบเหตุเดือดร้อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม หน่วยงานสำคัญที่จะเป็นที่พึ่งได้ในยามเกิดปัญหาคือ สถานีตำรวจ ตามกฎหมายได้ให้สิทธิแก่ประชาชนในการร้องทุกข์หรือแจ้งความเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ รวมไปถึงกำหนดหน้าที่ของตำรวจที่จะต้องเอาใจใส่ต่อคำร้องทุกข์ของประชาชน จะละเลยไม่ไดสงสัยหรือเปล่าล่ะว่า แจ้งความ กับ แจ้งเหตุ ต่างกันอย่างไร้

การแจ้งเหตุ คือ เมื่อเห็นเหตุการณ์ร้ายแรงใด ๆ ก็ควรช่วยเหลือสังคมด้วย แจ้งเหตุการณ์ที่เห็นแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อจะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที

การแจ้งความ คือ เมื่อเรามีเรื่องทุกข์ร้อน และนำเรื่องนั้นไปแจ้งหรือร้องทุกข์แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว มันจะกลายเป็นคดีความระหว่างเราซึ่งเป็นผู้เสียหายกับคู่กรณี ดังนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องเรียนรู้ถึงวิธีปฏิบัติ รวมทั้งการเตรียมเอกสารในเรื่องที่จะแจ้งความนั้นให้พร้อม เพื่อจะทำให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

1. แจ้งความเอกสารสำคัญหาย

เช่น ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ จักรยานยนต์ โฉนดที่ดิน ใบสำคัญต่าง ๆ ฯลฯ มีขั้นตอนดังนี้ คือ ยื่นคำร้องแจ้งว่าเอกสารดังกล่าวหายต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ จากนั้นเจ้าพนักงานจะตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ แล้วลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งออกหลักฐานการแจ้งความเอกสารหายเพื่อให้ท่านนำไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องสำหรับดำเนินการต่อไป

2. แจ้งความคนหาย

หลักฐานต่าง ๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ

- บัตรประจำตัวผู้หาย หรือสำเนาบัตรที่ถ่ายเก็บไว้ (ถ้ามี)

- สำเนาทะเบียนบ้านผู้หาย

- ภาพถ่ายคนหาย (เป็นภาพถ่ายปัจจุบัน)

- ใบสำคัญทางราชการ เช่น ใบเกิด ใบสำคัญทหาร (ใบกองเกิน ใบกองหนุน)

3. แจ้งความรถหรือเรือหาย

หลักฐานต่าง ๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ

- ใบทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือ พาหนะอื่น ๆ ที่หาย

- ใบรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี

- ถ้าเป็นตัวแทนห้างร้าน บริษัท ผู้ไปแจ้งความควรมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของหรือผู้จัดการของห้างร้าน บริษัทนั้น ๆ ไป รวมทั้งหนังสือรับรองบริษัทด้วย

- หนังสือคู่มือประจำตัวรถที่ทางบริษัทห้างร้านออกให้ ถ้าไม่มีก็ให้จำสีรถ แบบ ยี่ห้อ หมายเลขประจำเครื่องและตัวรถไปด้วย (ถ้ามี)

- หากมีภาพถ่ายรถหรือเรือที่หายให้นำไปด้วย

4. แจ้งความอาวุธปืนหาย

ควรเตรียมหลักฐานดังนี้

- ทะเบียนใบอนุญาตอาวุธปืน

- ใบเสร็จรับเงินที่บริษัทห้างร้านขายปืนออกให้ (ถ้ามี)

- ภายถ่ายปืนที่หาย (ถ้ามี)

5. แจ้งความทรัพย์สินหาย

ควรเตรียมหลักฐานดังนี้

- ใบเสร็จรับเงินซื้อขาย หรือหลักฐานการแสดงการซื้อขายทรัพย์สินนั้น

- รูปพรรณทรัพย์สินนั้น ๆ เช่น หมายเลขเครื่อง ฯลฯ (ถ้ามี)

- ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่าง ๆ

- เอกสารสำคัญต่าง ๆ เท่าที่มี

- ภาพถ่ายของทรัพย์สินที่หาย (ถ้ามี)

ในกรณีที่คนร้ายขโมยทรัพย์สินในบ้านหรือสำนักงาน ให้รักษาร่องรอยหลักฐานในที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ใครเข้าไปเคลื่อนย้ายหรือแตะต้องจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาดำเนินการ

6. แจ้งความพรากผู้เยาว์

ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่อายุยังไม่ถึง 20 ปี หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ ข้อหาพรากผู้เยาว์เป็นอย่างไร คงจำกันได้ดีถึงกรณีพิพาทอื้อฉาวบนหน้าหนังสือพิมพ์ระหว่างนักร้องหญิงวัยรุ่นกับแม่ของเธอ เรื่องมันก็มีอยู่ว่าสาวเจ้าเล่นประกาศปาว ๆ จะอยู่กินกับแฟนหนุ่ม แถมท้องได้ 4 เดือนเสียด้วย ทั้ง ๆ ที่อายุยังไม่ถึง 20 ปี เล่นเอาคุณแม่ต้องวิ่งโร่ไปแจ้งความกับตำรวจในข้อหาที่แฟนหนุ่มนั้นพรากผู้เยาว์น่ะสิ เห็นชัดแล้วใช่มั้ยว่าการพรากผู้เยาว์เป็นอย่างไร ใครที่เจอเหตุการณ์แบบนี้ เวลาจะขึ้นโรงพักไปแจ้งตำรวจ ก็อย่างลืมเตรียมเอกสาร ดังนี้

- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์

- ใบเกิดของผู้เยาว์ (สูติบัตร)

- รูปถ่ายของผู้เยาว์

- ใบสำคัญอื่น ๆ เกี่ยวกับผู้เยาว์ (ถ้ามี)

7. แจ้งความถูกข่มขืนกระทำชำเรา

ควรเตรียมหลักฐานดังนี้

- เสื้อผ้าของผู้ถูกข่มขืน ซึ่งมีรอยเปื้อนอันเกิดจากการข่มขืน และสิ่งของต่าง ๆของผู้ต้องหาที่ตกอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ

- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียหาย

- รูปถ่ายหรือที่อยู่ของผู้ต้องสงสัยตลอดจนหลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี)

8. แจ้งความถูกทำร้ายร่างกายและเหตุฆ่าคนตาย

ดำเนินการดังนี้

-รักษาสถานที่เกิดเหตุไว้อย่าให้ใครเข้าไปยุ่มย่ามหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ในที่เกิดเหตุจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการ

- ดูแลรักษาอาวุธของคนร้ายหรือพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อส่งมอบแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ

- บอกรายละเอียดต่าง ๆ เท่าที่สามารถบอกได้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทราบ

9. แจ้งความถูกปลอมแปลงเอกสาร

นำหลักฐานต่าง ๆ ไปดังนี้

- ใบสำคัญตัวจริง เช่น โฉนด แบบ น.ส. 3 หนังสือสัญญา ใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ

- หนังสือที่ปลอมแปลง

- ตัวอย่างตราที่ใช้ประทับหรือลายเซ็นในหนังสือ

10. แจ้งความถูกฉ้อโกงทรัพย์

เตรียมหลักฐานดังนี้

- หนังสือหรือหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการถูกฉ้อโกง

- หลักฐานแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์

- หนังสือหรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์

11. แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์

ควรเตรียมหลักฐานดังนี้

- หนังสือสำคัญที่เป็นหลักฐานว่าได้มีการมอบหมายทรัพย์ให้ไปจัดการอย่างใด

อย่างหนึ่ง

- ใบสำคัญแสดงการเป็นเจ้าของ

- สำเนาหรือคำสั่งศาล หรือพินัยกรรมในกรณีผู้กระทำผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สิน

ผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือพินัยกรรม

12. แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเช่าซื้อ

ควรเตรียมหลักฐานดังนี้

- สัญญาใบเช่าซื้อหรือสำเนา

- ใบสำคัญติดต่อซื้อ ขาย เช่า ยืม หรือ ฝาก

- ใบสำคัญที่บริษัทห้างร้านออกให้โดยระบุรูปพรรณ ยี่ห้อ สี ขนาด น้ำหนัก

และเลขหมายประจำตัว

13. แจ้งความกรณีทำให้เสียทรัพย์

ควรเตรียมเอกสารดังนี้

- หลักฐานต่าง ๆ แสดงการเป็นเจ้าของหรือครอบครองทรัพย์นั้น

- หลักฐานหรือสิ่งของที่เสียหายเท่าที่มีหรือเท่าที่นำไปได้

- หากเป็นของใหญ่โต หรือทรัพย์ที่ไม่สามารถพกพาติดตัวได้ให้เก็บรักษาไว้

อย่าให้เกิดความเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม หรือจัดให้คนเฝ้ารักษาไว้เพื่อเป็น

หลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป

14. แจ้งความจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน

ควรเตรียมหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจดังนี้

- เช็คที่ยึดไว้

- หนังสือที่ธนาคารแจ้งขัดข้องหรือปฏิเสธการจ่ายเงิน (ใบคืนเช็ค)

- หลักฐานหรือเอกสารซึ่งเป็นมูลหนี้แห่งที่มาของการจ่ายเช็ค เช่น

1. บิลส่งสินค้ากรณีที่มีการซื้อขายกัน , หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน

2. สัญญาซื้อขาย หรือเอกสารอื่นใดที่เป็นหลักฐานแห่งมูลหนี้ของการจ่ายเช็ค

- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้ง

- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง

กรณี เป็นเช็คของบริษัท หรือมีการมอบอำนาจ จะต้องมีเอกสารเพิ่มเติม คือ

- หนังสือมอบอำนาจติดการแสตมป์ถูกต้อง

- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ

- เอกสารเกี่ยวกับตัวผู้จ่ายเช็ค (ถ้ามี)

 

ค. การชำระค่าปรับ

เมื่อเราทำผิดกฎจราจร และได้รับใบสั่งสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ สามารถเลือกปฏิบัติในการชำระค่าปรับตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในใบสั่งของเจ้าพนักงานจราจร ณ สถานที่และภายในวันเวลาที่ระบุไว้ในใบสั่งได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

1. ชำระที่สถานีตำรวจหรือหน่วยงานตำรวจที่ออกใบสั่งนั้น

2. ชำระ ณ ที่ทำการไปรษณีย์แห่งใดก็ได้

กรณี ผู้ได้รับใบสั่งไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 หรือข้อ 2 ภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันควร มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท อีกข้อหาหนึ่งต่างหาก

อัตราปรับ

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในฐานะของเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ได้ออกข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องการชำระค่าปรับทางไปรษณีย์ แบบใบสั่งและกำหนดค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ โดยได้กำหนดค่าปรับของแต่ละข้อหาไว้ให้พนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่จราจรถือปฏิบัติ ฉะนั้นการจะไปชำระที่สถานีตำรวจหรือชำระทางไปรษณีย์จะต้องชำระค่าปรับในอัตรเดียวกัน

ขั้นตอนการชำระค่าปรับทางไปรษณีย์

ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถต้องถ่ายเอกสารใบสั่งทั้ง 2 หน้า โดยกรอกข้อความในสำนาใบสั่งในส่วนของ “บันทึกของผู้ต้องหา” ให้ครบถ้วนพร้อมลงลายมือชื่อ (ใบสั่งตัวจริงเก็บไว้เป็นหลักฐาน)
ไปที่ทำการไปรษณีย์แห่งใดก็ได้พร้อมแจ้งความจำนงว่าจะชำระค่าปรับทางไปรษณีย์
เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จะมอบใบฝากธนาณัติในประเทศและซองจดหมายจำนวน 2 ซอง เพื่อดำเนินการดังนี้
- กรอกรายละเอียดในใบฝากส่งไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศสั่งจ่าย “ผู้บัญชา การตำรวจแห่งชาติ” ณ ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางตามที่ระบุไว้ในใบสั่ง

- จ่าหน้าซอง โดยซองแรกให้จ่าหน้าถึงหัวหน้าสถานีตำรวจหรือหัวหน้าหน่วย

งานตำรวจที่ออกใบสั่ง และซองที่สองให้จ่าตามชื่อที่อยู่ของผู้ขับขี่หรือเจ้าของ

รถที่ได้กรอกไว้ในสำเนาใบสั่งส่วนของ “บันทึกผู้ต้องหา” ตามข้อ 1 เพื่อจะส่ง

ใบเสร็จรับเงินและใบอนุญาตขับขี่ (หากถูกยึด) คืนให้

- มอบเอกสารตามข้างต้นให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ พร้อมชำระค่าปรับจำนวนที่

ระบุไว้ในใบสั่งและเงินค่าใช้บริการตามที่ที่ทำการไปรษณีย์เรียกเก็บ

- เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จะตรวจความถูกต้องและดำเนินการให้ต่อไป

 

การใช้ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่เป็นการชั่วคราว

1. ใบรับแทนใบอนุญาต (ใบสั่ง) ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ยึดไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่ออกใบสั่ง

2. กรณี ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถเลือกหรือมีความจำเป็นต้องใช้วิธีการชำระค่าปรับทางไปรษณีย์ธนาณัติ จะต้องดำเนินการภายใน 7 วัน จึงสามารถใช้ใบรับแทนใบอนุญาต (ใบสั่ง) ประกอบกับใบรับการส่งธนาณัติแทนใบอนุญาตขับขี่ออกไปได้อีก 10 วัน นับแต่วันที่ส่งธนาณัติ

 

จะได้รับใบอนุญาตขับขี่คืนเมื่อใด

สำนักงานตำรวจแห่งชาติและการสื่อสารแห่งประเทศไทย จัดทำข้อตกลงระหว่างกันเพื่อให้บริการชำระค่าปรับทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศ (EMS) ฉะนั้นเมื่อพนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจออกใบสั่ง ได้รับเงินตามธนาณัติแล้วจะต้องส่งคืนใบเสร็จรับเงินและใบอนุญาตขับขี่ (หากถูกยึด) คืนให้โดยเร็ว

 

ง. กิจธุระที่ต้องขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ

   1. การขออนุญาตแสดงมหรสพชั่วคราว

- ต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของสถานที่

- ต้องขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียงด้วย (ถ้ามี)

- เลิกแสดงมหรสพเวลา 24.00 น.

สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร จะต้องยื่นคำร้องต่อผู้กำกับหรือรองผู้กำกับหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่เป็นผู้พิจารณาอนุญาต

ส่วนในต่างจังหวัด จะต้องยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ และเมื่อนายอำเภออนุญาตแล้วจะแจ้งให้ตำรวจท้องที่ทราบ

2. การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง

ในกรุงเทพมหานคร ต้องยื่นคำร้องต่อผู้อำนวยการเขต
ในต่างจังหวัด ต้องยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ แล้วนำคำร้องมายื่นต่อผู้กำกับหรือรองผู้กำกับท้องที่เพื่อลงความเห็นแล้วส่งกลับไปยังเขตหรืออำเภอเพื่อพิจารณาอนุญาตต่อไป
 

3. การขออนุญาตจุดดอกไม้เพลิง

ในเขตกรุงเทพมหานคร ต้องยื่นคำร้องที่สถานีตำรวจท้องที่เพื่อเสนอเรื่องให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้อนุญาต
- ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่

 

4. การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน

สามารถยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ ดังนี้

กรุงเทพฯ : ยื่นต่อผู้บังคับการกองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(ลาดพร้าว)

ต่างจังหวัด : ยื่นต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอ
หลักฐานสำหรับประกอบการพิจารณา ที่ต้องนำไปมีดังนี้

บัตรประจำตัวประชาชาหรือหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมสำเนา
สำเนาทะเบียนบ้าน
หลักทรัพย์ หลักฐานประกอบอาชีพและรายได้
หนังสือรับรองความเหมาะสม เหตุผล ความจำเป็น นิสัยใจคอ ดังนี้
- ถ้าเป็นราษฎรทั่วไป ต้องนำพยานบุคคลที่เชื่อถือได้ไปให้คำรับรองเกี่ยว

กับความประพฤติและหลักฐานของผู้ขออนุญาตด้วย

- ถ้าเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือ ลูกจ้าง ต้องให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่

ชั้นหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด หรือผู้บังคับ

กองพันทหาร รับรองความประพฤติและตำแหน่งหน้าที่การงาน

- ถ้าเคยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ให้นำใบอนุญาตให้มีและใช้

อาวุธปืน (แบบ ป.4) ไปแสดงด้วย

 

5. การขออนุญาตพกพาอาวุธปืนติดตัว

สามารถยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ ดังนี้

1. ยื่นต่อผู้บังคับการกองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ลาดพร้าว)
สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพฯ

2. ยื่นต่อนายอำเภอ หรือ ปลัดอำเภอ สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด

 

คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตพกพาอาวุธปืนติดตัว

1. เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนอยู่แล้ว

2. เป็นบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้

- เจ้าพนักงานซึ่งทำหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินของรัฐบาล
- ข้าราชการ พนักงาน หรือพนักงานองค์กรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบ
ปราม หรือการปฏิบัติงานที่เป็นการฝ่าอันตรายหรือเขตทุรกันดาร

- บุคคลซึ่งได้ทำประโยชน์อย่างมากให้แก่ทางราชการในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย

- บุคคลที่มีความจำเป็นต้องมีอาวุธปืนติดตัว เพื่อป้องกันอันตรายจากการประทุษร้าย

- บุคคลที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นสมควรอนุญาต

หลักฐานการขออนุญาต

สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการเจ้าพนักงานหรือพนักงานองค์การรัฐวิสาหกิจหรือบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4)
สำเนาทะเบียนบ้าน โดยที่อยู่ของผู้ขออนุญาตที่ระบุไว้ในทะเบียนบ้านจะต้องตรงกับที่อยู่ในแบบ ป.4
ภาพถ่ายของผู้ขออนุญาต ขนาด 3 นิ้ว จำนวน 2 รูป โดยถ่ายหน้าตรงแต่งเครื่องแบบ
กรณีผู้ขอเป็นข้าราชการ เจ้าพนักงาน หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดว่าเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยมีเหตุผลและความจำเป้นสมควรได้รับอนุญาตให้พกพาอาวุธปืนติดตัวได้
กรณีที่ผู้ขอทำงานอยู่ในธุรกิจเอกชน จะต้องมีหนังสือรับรองจากเจ้าของหรือผู้จัดการธุรกิจนั้น ๆ ว่าผู้ขอเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย มีเหตุผลและความจำเป็นสมควรได้รับอนุญาตให้พกพาอาวุธปืนติดตัวได้
 

6. การขอรับโอนมรดกอาวุธปืน

ปฏิบัติเช่นเดียวกับการขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน หากต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

ใบมรณบัตรของผู้ตาย
หนังสือพินัยกรรมของผู้ตาย หรือคำสั่งศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก (ถ้ามี)
ต้องแจ้งขอรับการโอนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับมรดก
 

การขออนุญาตเล่นการพนันประเภทต่าง ๆ
ควรนำหลักฐานเอกสารดังต่อไปนี้แสดงต่อเจ้าหน้าที่

บัตรประจำตัวประชาชน
ทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน
หนังสือมอบอำนาจ พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่ผู้ขอมิได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง
โครงการหรืองานที่จะจัดให้มีการเล่นการพนัน (ถ้ามี)
สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ต้องยื่นคำขออนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนัน

พร้อมเอกสารดังกล่าวต่อนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรประจำท้องที่ซึ่งดำรงตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป ส่วนในเขตต่างจังหวัดนั้นให้ยื่นต่อนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอ

 

การขออนุญาตเยี่ยมผู้ต้องหาบนสถานีตำรวจ
พบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องหาบนสถานีตำรวจ
แจ้งชื่อผู้ต้องหาที่ต้องการเยี่ยม
หลังได้รับอนุญาต ให้เข้าเยี่ยมผู้ต้องหาได้ตามระเบียบที่กำหนด คือ
เวลา 08.00 - 09.00 น.

เวลา 12.00 - 13.00 น.

เวลา 16.00 - 17.00 น.

อาหารของเยี่ยมของฝากผู้ต้องหา ต้องได้รับการตรวจจากเจ้าหน้าที่ก่อนเสมอ


จัดทำโดยงาน ชมส.สภ.เวียงเชียงรุ้ง ด.ต.ชลธิศ   ใจเติม







วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ: ชุมชนสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน

การดำเนินงานด้านงานชุมชนสัมพันธ์ ตามแผนปฏิบัติการชุมชนสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนตำรวจภูธรเวียงเชียงรุ้ง ๒๕๕๘ ในหมู่บ้านเป้าหมาย ไตรมาส ๑-๒ๅ๒๕๕๘ จำนวน ๓ หมู่บ้านคือ บ้านน้ำตกพัฒนา ม.๗ ต.ทุ่งก่อ( การเข้าร่วมกิจกรรมชุมชนตามประเพณี) บ้านโป่ง หมู่๑,หมู่ ๑๑ การอบรมให้ความรู้ การป้องกันอาชญากรรม และโจรผู้ร้าย การจราจรการสร้างระเบียบวินัยจราจร"












ด.ต.ชลธิศ ใจเติม ภาพ /บรรยาย

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำสั่ง ผวจ.ที่๒๒/๒๕๕๗ ลง ๕ พ.ย.๕๗ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการ กต.ตร.สภ.เวียงเชียงรุ้ง

เมื่อวันที ๕ พ.ย.๒๕๕๗ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายพงษ์ศักดิ์  วังเสมอ ได้ลงนามในคำสั่ง ที่ ๒๒/๒๕๕๗ เรื่องแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเวียงเชียงรุ้ง จว.เชียงราย  ภาคประชาชน ราชการ รวม ๑๙ คน เรียบร้อยแล้ว และมีการประชุมสัมนา กต.ตร.ใหม่ไปเมื่อ ๑ ต.ค.๕๗  โดยประธาน กต.ตร.คือ นายสมควร นัยติ๊บ  นากองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง  รองประธาน คือ นายอำนาจ  หาญกล้า ข้าราชการบำนาญครู




นายสมควร   นัยติ๊บ ประธาน กต.ต.สภ.เวียงเชียงรุ้ง ปี ๒๕๕๗



นายอำนาจ   หาญกล้า  รอง ประธาน กต.ตร.สภ.เวียงเชียงรุ้ง ปี ๒๕๕๗


รายงานโดย ด.ต.ชลธิศ   ใจเติม


กิจกรรมงานมวลชนสัมพันธ์ สภ.เวียงเชียงรุ้ง "สร้างฝายชลอน้ำ"(๑๗-๒๖ พ.ย.๕๗)

กิจกรรมงานชุมนมวลชนสัมพันธ์การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนการร่วมจัดทำฝายชลอน้ำ ณบ้านใหม่เจริญ หมู่ที่ ๑๒ ต.แม่อ้อ อ.พาน ดำเนินกิจกรรม แต่วันที่ ๑๐ - ๒๖ พ.ย.๕๗ โดยตร.ชมส.นำโดย พ.ต.ท.ภูมิปรีชา  เผ่าปินตา สวป.และด.ต.ชลธิศ  ใจเติม ร่วมกับ ประชาชน ทหาร จทบ.เชียงราย อส.จ.ชร.ร่วมกันดำเนินการ ปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ เพราะขาดแคลนกำลังพลและอุปกรณ์สนับสนุน
จำนวนมาก โดยจำทำฝายกั้น แม่น้ำคาวเขตติดต่อ ระหว่างต.สันมะเค็ด กับ ต.แม่อ้อ อ.พาน บริเวณบ้านใหม่เจริญ ม.๑๒ ต.แม่อ้อ


สถานที่ สร้างฝาย เมื่อ ๑๗ พ.ย. ๕๗


กำลังพล ตร.สภ.ต่างๆของภ.จว.ชร.ผู้มีจิตอาสา


ร่วมกับพี่น้อง ประชาชน บ้านใหม่เจริญ ม.๑๒ ต.แม่อ้อ โดยการนำของ พ่อหลวงสมบูรณ์ กันคำ


สถานที่ดำเนินการ เมื่อ ๒๐ พ.ย.๕๗

คณะทำงาน กรรมกร จาก สภ.ต่างๆของภ.จว.เชียงราย สภ.เวียงเชียงรุ้ง
นำโดย พ.ต.ท.ภูมิปรีชา  เผ่าปินตา สวป.และด.ต.ชลธิศ ใจเติม


บริเวณสถานที่ก่อสร้าง เมื่อ ๒๖ พ.ย.๕๗



รายงานโดย ด.ต.ชลธิศ  ใจเติม
ผบ.หมู่(สฝ.)สร้างฝาย






วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๗ วันปิยะมหาราช

๒๓ ต.ค.๕๗ พ.ต.อ.ประเจียด หนูเทพ ผกก.สภ.ฯ พร้อม นายตำรวจผู้บริหาร สถานีดังนี้
พ.ต.ท.เดชา  ไชยอักษร รอง ผกก.ป. พ.ต.ท.ประจวบ แก้วโก รองผกก.สส. พ.ต.ท.ชาติตระกูล เจริญภักดี สว.สส.พ.ต.ท.ภาณุวัชร ชัชวรัตน์ พงส.ชนพ. และข้าราชการตำรวจสภ.ทุกนายเข้าร่วม พิธี ราชสักกราระ พระบรมสาญาลักษณ์ ของ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่รัชการลที่ ๕ "พระปิยะมหาราช" โดยพร้อมเพรียงกัน ณ ลาน เอนกประสงค์ ที่ว่าการอ.เวียงเชียงรุ้ง ๒๓ ต.ค. เวลา ๐๗.๐๐ น.































ด.ต.ชลธิศ ใจเติม ภาพ

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

ร่วมกิจกรรมกับ มูลนิธิราชประชา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เหตุอุทกภัย ๕ กย.๕๗

เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๙ ต่อเนื่อง ถึง ๓๑ ส.ค.๕๗ พื้นที่ จว.เชียงราย ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลาก เป็นเหตุให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน โดยหนึ่งในพื้นที่ดังกล่าว อ.เวียงเชียงรุ้ง ซึ่งเป็นพื้นที่ตอนกลางของ จว.เชียงรายและอยู่บนที่ราบสูงไล่ลำดับ เกิดน้ำป่าจากภูเขา ไหลเข้าท่วมบ้านเรือน ทั้งหมด ๓ ตำบล ๔๓ หมู่บ้านได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะ ต.ดงมหาวัน ที่มีระดับน้ำสูงเกือบ ๒ เมตร ถนนสายหลักถูกตัดขาดบางสาย ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก เบื้องต้น สภ.เวียงเชียงรุ้ง ได้ตั้งศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยไว้ตลอด ๒๔ ชม.เพื่อช่วยเหลือ แจ้งเตือน ประสานงานเกี่ยวกับ ภาวะดังกล่าว และรายงานผลการไปยังศููนย์ บรรเทาสาธารณภัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง เพื่อจัดเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือโดยทันที


 บริเวณหน้าที่ทำการสายตรวจตำบล ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จว.เชียงราย ๒๙ กย.๕๗

และหลังจาก ภาวะเป็นปกติ ประชาชนที่ได้รับกระทบก็ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐและหน่วยงานเอกชน พ่อค้าและประชาชที่มีจิตอันเป็นสาธารณได้ร่วมกันเป็นกำลังใจแก่ผู้ได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึง
โดยเฉพาะ ผกก.สภ.เวียงเชียงรุ้ง พ.ต.อ.ประเจียด  หนูเทพ นำผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันในกิจกรรม ร่วมกับภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ และ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์โนบรมราชนูปถัม มอบสิ่งพระราชการแก่ประชาชนในพื้นที่ ณ ที่ว่าการอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จว.เชียงราย
พ.ต.อ.ประเจียด หนูเทพ ผกก.สภ.นำข้าราชการ ตร.เข้าร่วมกิจกรรม ๕ กย.๕๗ ณที่ว่าการ อ.

สิ่งของพระราชทาน

ประชานผู้ รอรับสิ่งของพระราชทาน

พ.ต.อ.ประเจียด  หนูเทพ ผกก.ร่วมมอบสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชน


พ.ต.ต.อธิคม  อุประ สวป.


พ.ต.ท.เดชา ไชยอักษร  รอง ผกก.ป.ร่วมกิจกรรม



ข้าราชการ ตร.ร่วมกิจกรรม

ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระรึก




ด.ต.ชลธิศ/ภาพ/บรรยาย
๕ กย.๕๗