วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ร่วมพิธีเนื่องในวันกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำปี พ.ศ.๒๕๕๕ (๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕)

วันนี้ตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น.เป็นต้นไป อำเภอเวียงเชียงรุ้งได้จัดให้มีพิธีเนื่องในวันกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำปี พ.ศ.๒๕๕๕ ขึ้น ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอโดยมีนายพินิจ แก้วจิตคงทอง นายอำเภอเวียงเชียงรุ้งเป็นประธาน ผู้เข้าร่วมพิธีประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบลในเขตพื้นที่และัหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้แทนจำนวนประมาณ ๓๐๐ คน โดยในส่วนของ สภ.เวียงเชียงรุ้งนั้น พ.ต.ท.ภิรมย์ สุทา รอง ผกก.(ป.) และ พ.ต.ท.สุพจน์ มัจฉา สวป.เข้าร่วมพิธีครั้งนี้





ลำดับพิธีการวันนี้มีดังนี้

ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย



กำนันตำบลทุ่งก่อในฐานะประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอเวียงเชียงรุ้งกล่าวนำถวายสัตย์ปฏิญาณ



ประธานมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่กำนันผู้ใหญ่บ้านฯ ซึ่งมีผลการปฏิบัติงานดีเด่นประจำปี ๒๕๕๕




ประธานอ่านสารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเนื่องในวันกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำปี ๒๕๕๕ (รายละเอียดกรุณาคลิกที่นี่)



พิธีสงฆ์



เสร็จสิ้นพิธีครั้งนี้เมื่อเวลาประมาณ ๑๐.๓๐ น.

สำหรับวันกำนันผู้ใหญ่บ้านมีประวัติความเป็นมาดังนี้

วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๓๕ เป็นวันที่ได้มีการจัดตั้งสถาบันกำนันผู้ใหญ่บ้าน ขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก) ทดลองจัดระเบียบการปกครองระดับตำบล หมู่บ้านขึ้นเป็นครั้งแรก ณ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ท่านและเป็นการเน้นให้ เห็นความสำคัญของกำนันผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการปฏิบัติ ภารกิจ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ให้แก่ประชาชน ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ ๑๐ สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน"

ในอดีตที่ผ่านมาระบบการปกครองบ้านเมืองของประเทศไทยมีลักษณะค่อนข้างกระจาย อำนาจกล่าวคือมีการแบ่งเขตการปกครองและกำหนดวิธีปกครองหัวเมืองต่างๆ ไว้ชัดเจนเพื่อควบคุมเจ้าเมืองโดยมีศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลางแต่ในทางปฎิ บัติส่วนกลางหรือพระมหากษัตริย์กลับมีอำนาจจำกัดในขณะที่เจ้าเมืองต่างๆ มีอำนาจมากขึ้น นอกจากนี้แล้วระบบการปกครองเช่นนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อีก เช่นปัญหาทางด้านการคมนาคมสื่อสาร การรั่วไหลในการเก็บภาษีอากร อิทธิพลของผู้เป็นใหญ่ในท้องถิ่น ตลอดจนความทุกข์ยากของประชาชนและยังต้องเผชิญกับอิทธิพลของต่างประเทศในยุค ล่าอาณานิคม ทำให้การบริหารประเทศขาดประสิทธิภาพและขาดความเป็นเอกภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระราชดำริที่จะปฎิรูประบบ การบริหารราชการจากรูปแบบการปกครองที่มีเมืองแม่และเมืองประเทศราชอยู่ใน ปกครอง ซึ่งนับว่ามีจุดอ่อนตรงที่ขาดความเป็นเอกราชอันอาจนำไปสู่ความแตกแยกขาดความ สามัคคีและขาดความจงรักภักดีได้โดยง่ายมาเป็นรูปแบบการปกครองและการบริหาร ราชการที่แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

การปฎิรูประบบการบริหารราชการส่วนกลางพระองค์ได้ทรงประกาศพระบรมราชโองการ ตั้งกระทรวงใหม่ขึ้น ๑๒ กระทรวงโดยทรงเลียนแบบมาจากประเทศทางตะวันตก มีการแบ่งสรรอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบแยกตามลักษณะความชำนาญเฉพาะอย่าง และพระมหากษัตริย์สามารถควบคุมบังคับบัญชาเหล่าเสนาบดีได้อย่างทั่วถึง การปฎิรูปการบริหารราชการส่วนภูมิภาคพระองค์ทรงรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่ สำคัญๆ รวมเป็นเขตการปกครองเรียกว่า"มณฑล" โดยมุ่งมั่นที่จะปกป้องประเทศจากการคุกคามจากภายนอกโดยจัดระบบที่เรียกว่า ระบบเทศาภิบาล มีหัวเมืองต่างๆ มารวมกันเป็นมณฑลและมีจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านลดหลั่นกันไปโดยมีข้าหลวงมณฑลเป็นผู้รับผิดชอบและปกครองโดยรับคำ สั่งและนโยบายจากส่วนกลาง

ในการปฎิรูประบบการปกครองส่วนภูมิภาคโดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการโดยเริ่มจากโครงการเล็กก่อน เมื่อสำเร็จและจัดระบบดีแล้วจึงค่อยขยายผลและมีการทดลองเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านขึ้นเป็นครั้งแรกที่แขวงบางปะอินเมืองกรุงเก่าหรือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบันเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มแรกของการปกครองในระบอบระชาธิปไตย ลักษณะการปกครองเช่นนี้ปรากฎเด่นชัดขึ้นเมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ขึ้นใช้ ซึ่งมีการแบ่งการบริหารราชการของอำเภอออกเป็นตำบลและหมู่บ้าน กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศให้วันที่ ๑๐ สิงหาคมของทุกปีเป็นวันกำนันผู้ใหญ่บ้าน

ที่มา : http://www.sirikitdam.egat.com/days/08august/0408.html

ด.ต.บัญญัติ ชัยลังกา : ภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น