วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตรวจการปฏิบัติืของเจ้าหน้าที่ประจำสถานี (๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕)

วันนี้เวลาประมาณ ๑๑.๓๐ น. พ.ต.ท.สุพจน์ มัจฉา สวป.สภ.พาน ปฏิบัติราชการ สภ.เวียงเชียงรุ้งเ้ดินทางไปตรวจการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ประจำสถานีพบ ด.ต.พลาวุธ สุภาอินทร์ ปฏิบัติหน้าที่สิบเวรและเจ้าหน้าที่อื่นซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่บนสถานีครบถ้วนพร้อมให้บริการพี่น้องประชาชนตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ








การตรวจครั้งนี้ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ใ้ห้ถือปฏิบัติตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้่าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่บนสถานีดังต่อไปนี้



เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงานบนสถานีตำรวจจะต้องทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกสบายใจ อบอุ่นใจ ไม่หวาดระแวงด้วยการปฏิบัติตนดังนี้

(๑) แต่งกายสะอาด เรียบร้อย จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการทำงานไว้ให้พร้อม
(๒) ยิ้มกับประชาชนทุกคนที่มาติดต่อราชการบนสถานีตำรวจ โดยต้องคิดว่าประชาชนที่มาติดต่อราชการเป็นญาติมิตรของตน
(๓) สวัสดีประชาชนทุกคนที่มาติดต่อราชการบนสถานีตำรวจ การสวัสดีเป็นการทักทายตามแบบธรรมเนียมไทย การกล่าวคำว่า “สวัสดีครับ” “สวัสดีค่ะ” และการยกมือขึ้นสวัสดี
(๔) กล่าวทักทายประชาชนแบบญาติมิตรด้วยการเรียกประชาชนเป็นพี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ฯลฯ เพื่อให้เกิดความรู้สึกคุ้นเคยเป็นกันเอง
(๕) ให้การต้อนรับขับสู้ให้สมกับฐานะหรือตามสมควร เช่น การจัดที่ให้นั่งพักรอ การจัดนํ้าดื่มให้ การจัดหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารให้อ่าน การพาประชาชนไปพบกับเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ให้บริการ เป็นต้น



(๖) ให้การบริการในหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ แสดงออกให้ประชาชนเห็นว่าสนใจเอาใจใส่ในสิ่งที่ประชาชนมาติดต่อและต้องการให้ดำเนินการ แสดงออกถึงความกระตือรือร้นในการทำงานพูดคุยให้ทราบถึงขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงาน สอบถามสารทุกข์สุขดิบของประชาชนเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและเพื่อสร้างความคุ้นเคย
(๗) เมื่อให้บริการเรียบร้อยแล้วให้กล่าวคำอำลาและลุกขึ้นยืนส่งหรือเดินไปส่งประชาชนผู้นั้นจนถึงทางออกสถานีหรือบริเวณอันสมควร



ข้อควรปฏิบัติเพื่อการขับเคลื่อนโครงการไปสู่การบริการที่ดีแก่ประชาชน

(๑) เมื่อมีประชาชนที่มาสถานีตำรวจต้องรู้สึกดีใจเหมือนมีญาติพี่น้องมาเยี่ยมเยียน
(๒) ยิ้มแย้มแจ่มใส ยกมือไหว้ กล่าวคำสวัสดี
(๓) เรียกขานผู้มาติดต่อราชการเป็น พี่ ป้า น้า อา ตามขนบธรรมเนียมประเพณี อันดีงามของไทย
(๔) ให้บริการรวดเร็ว กระตือรือร้น มุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาให้กับผู้มาใช้บริการ
(๕) สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มาติดต่อขอรับบริการ



(๖) เมื่อพบเห็นผู้มาติดต่อรับใช้บริการต้องเข้าไปทักทาย สอบถามให้บริการ
(๗) ทำทุกวิธีทางเพื่อ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้ประชาชน คือหน้าที่สำคัญของตำรวจ
(๘) ระลึกเสมอว่าโครงการนี้ไม่ได้เพิ่มภาระให้เรา แต่เป็นการปรับปรุงการทำงานของเราให้ดีขึ้น
(๙) ต้องระลึกเสมอว่าท่านเป็นเสมือนตัวแทนของตำรวจทั้งสถานีการแสดงออกต่อประชาชน
(๑๐) โครงการจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ความสามัคคีของตำรวจทุกคน



เจ้าหน้าที่รับทราบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น